บ้านแห่งซามูไร Aizu Bukeyashiki ที่ Fukushima

           ซามูไรกับญี่ปุ่นอาจถือได้ว่าเป็นอีก 1 สัญลักษณ์ที่น่าสนใจซึ่งหลายๆเมืองก็มีเรื่องราวของซามูไรที่หลงเหลือเอาไว้ให้เราได้ไปสัมผัสเมื่อได้ไปเที่่ยวญี่ปุ่น รวมทั้งที่ Aizu เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดฟูกุชิมะ (Fukushima) ก็เช่นกัน

          สถานที่ที่ว่านี้มีชื่อว่า Aizu Bukeyashiki หากนับรวมอายุก็มากกว่าพันปี ส่วนที่สำคัญของเมืองนี้นั่นก็คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้มีการจารึกเรื่องของ “ซามูไร” ที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญอย่างมากในยุคสงครามโบชิน โดยสงครามนี้เป็นเรื่องราวของการแย่งชิงอำนาจระหว่างสมเด็จจักรพรรดิ์กับโชกุนแห่งตระกูลโตกุกาว่า(Tokukawa) ที่อยู่ในช่วงตอนปลายของยุคเอโดะ

        Aizu Bukeyashiki เป็นบ้านซามูไรของตระกูล ไซโจ ทาโนโมะ ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1868 โดยเป็นการสร้างหรือบูรณะขึ้นเพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกเผาทำลายโดยฝ่ายที่สนับสนุนสมเด็จพระจักรพรรดิ์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงครามโบชิน  และด้วยบทบาททางสังคมที่สำคัญของซามูไรในยุคนั้นมีความสำคัญมาก และเนื่องจากซามูไรจะอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ทำให้บ้านของซามูไรจะมีขนาดกว้างขวางและใหญ่โต พักอาศัยจึงมีขนาดที่ใหญ่โต มีห้องพักมากถึง 12 ห้อง และก็ยังมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามรวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย  และแน่นอนว่าจะต้องมีสวนแบบญี่ปุ่นหลากหลายฤดู มีการสร้างศาลาดื่มชา และโรงซ้อมยิงธนู ไปจนถึงโรงสีข้าว รวมถึงห้องเก็บอาวุธ

บ้านซามูไรของตระกูล ไซโจ ทาโนโมะ หลังนี้ถูกสร้างขึ้นตามรูปแบบบ้านในสมัยเอโดะ ภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยอาคารหลายหลัง มีสวนญี่ปุ่น บ่อน้ำที่มีรปลาคาร์ฟแหวกว่าย ภายในห้องเจ้าหน้าที่ก็ได้มีการจัดแสดงหุ่นจำลองการใช้ชีวิตของซามูไรเอาไว้อีกด้วย แต่จริงๆสถานที่แห่งนี้ที่ไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับสงครามทำให้ประวัติเก่าๆดูเศร้าไม่น้อยเพราะเมื่อซามูไรที่เป็นหัวหน้าครอบครัวออกไปรบเมื่อพบกับความพ่ายแพ้ทำให้ผู้ที่อยู่ข้างหลังโดยเฉพาะภรรยาจึงได้ทำการปลิดชีวิตตัวเองเพื่อรักษาเกียรติเอาไว้ในวาระสุดท้าย

Aizu Bukeyashiki

ดังนั้น หากใครมาเที่ยวญี่ปุ่นที่จังหวัดฟุกุชิมะ  Aizu Bukeyashiki หรือบ้านซามูไรแห่งนี้ก็เป็นอีก 1 สถานที่ที่น่าสนใจแน่นอน

การเดินทางมาที่ Aizu Bukeyashiki :  เริ่มจากสถานี Aizu Wakamatsu ให้นั่ง Loop Bus มาลงที่ Aizu Bukeyashiki ได้ 2 สาย – รสบัสสาย Akabe  มาลงที่ป้าย A17  ส่วนถ้าเป็น รสบัสสาย Haikara-san งที่ป้าย H30

 

Photos :wikipedia

Facebook Comments Box

Related Articles